วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

เจตนาหมิ่นประมาท

ตัวอย่าง
“เจตนาหมิ่นประมาท”


กรณีที่ A พูดว่า “ถ้าเลือกเกิดได้จะเกิดใจกลางเมืองพระบรมมหาราชวัง ออกมาเป็นพระองค์เจ้า ......ไม่ต้องมายืนตากแดดพูดให้ประชาชนฟัง ถึงเวลาเที่ยงก็เข้าห้องเย็น เสวยเสร็จก็บรรทม ตื่นอีกที ก็บ่ายสามโมง พอตกเย็นก็เสวยน้ำจัณฑ์ให้สบายอกสบายใจ” นั้น เป็นการกล่าวเปรียบเทียบว่าพระมหากษัตริย์ พระราชนี และองค์รัชทายาท ทรงมีความเป็นอยู่สุขสบาย ฯลฯ และมีพยานรู้เห็น
ดังนั้น A จึงใส่ความว่าทั้งสามพระองค์ทรงมีความเป็นอยู่สุขสบายไม่ต้องปฏิบัติภารกิจใดๆ เอาแต่พักผ่อนและดื่มสุรา อันแสดงว่า A เจตนาหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ พระราชนี และองค์รัชทายาท การกระทำของ A เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

สรุป ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ คุ้มครองบุคคลตามมาตรานี้ซึ่งได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ อย่างกว้างขวาง จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นการอันตัดสิทธิในทางวิจารณ์โดยสิ้นเชิง หรือแม้แต่จะกล่าวถึงยังต้องระมัดระวัง ซึ่งการกำหนดดังกล่าวนั้น เข้าใจว่าเป็นผลจากการที่รัฐธรรมนูญแทบทุกฉบับที่บัญญัติรับรองว่า
“องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้...”

เขียนโดย
น.ส.สุภาภรณ์ ผกาพรหม เลขที่ 41 รปศ.501

ลอบปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์

มาตรา 107 ผู้ใดลอบปลงพระมหากษัตริย์ ต้องระวางโทษประหารชีวิต
- ผู้ใดพยายามการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
- ผู้ใดกระทำการใดเป็นการตระเตรียม เพื่อปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ หรือว่ามีผู้จะปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ กระทำการใดเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต

ตัวอย่าง

ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ แดงและดำคบคิดกันจะลอบปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ จึงไปปรึกษาเขียวของยืมรถยนต์และอาวุธปืนเพื่อใช้กระทำผิด จากนั้นแดงและดำก็ขับรถไปจอดบริเวณวัดที่ทราบว่าพระมหากษัตริย์จะเสด็จมาทรงประกอบพิธีกรรมทางศาสนา แต่แดงและดำถูกเจ้าหน้าที่จับกุมตัวเสียก่อนเช่นนี้ แดง ดำ และเขียว มีความผิด หรือไม่

การที่แดงและดำคบคิดกันกระทำผิด และหาอาวุธปืนมาไว้นั้นเป็นการเตรียม เพื่อปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมาตรา 107 วรรคท้ายบัญญัติเป็นความผิด แดงและดำจึงผิดฐานตระเตรียมเพื่อปลงพระชนม์ พระมหากษัตริย์ สำหรับเขียวซึ่งให้ยืมรถยนต์และอาวุธปืนเพื่อกระทำผิด การกระทำของเขียวจึงเป็นการช่วยเหลือในการที่แดงและดำกระทำผิด เขียวเป็นผู้สนับสนุนการตระเตรียม เพื่อปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมาตรา 111 ผู้สนับสนุนในกรณีนี้ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการมีความผิดต่อพระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

เขียนโดย
น.ส.จิราวรรณ อินตาล เลขที่ 6 รปศ.501

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ม.112)

ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

มาตรา 112 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี

กรณีตัวอย่าง

ไก่ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ไปหาซื้อของที่ศูนย์การค้า ขณะที่เดินซื้อของอยู่ ไก่เสียหลักเซไปปะทะเป็ดล้มลง เป็ดโกรธและพูดตะคอกไก่ว่า “ให้ระวังตัวให้ดีเดี๋ยวจะเจ็บตัว” นายตำารวจซึ่งติดตามคอยให้ความอารักขาแก่ไก่ จึงจับกุมเป็ดในข้อหาแสดงความอาฆาตมาดร้ายผู้สำาเร็จราชการแทนพระองค์ เป็ดมีความผิดตามที่กล่าวหาหรือไม่

คำพูดของเป็ดต่อไก่ที่ว่า “ให้ระวังตัวให้ดี เดี๋ยวจะเจ็บตัว” นั้นเป็นการขู่เข็ญไก่ ด้วยประสงค์ร้ายว่าจะทำอันตรายต่อร่างกายของไก่ ถือได้ว่าเป็นการแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อไก่ ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามบทบัญญัติในมาตรา 112 แต่เป็ดจะมีความผิดหรือไม่ต้องพิจารณาจากเจตนาของเป็ดอีกชั้น หนึ่งกล่าวคือ
(1) ถ้าเป็ดรู้ว่าไก่ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็ดก็ผิดตามมาตรา 112
(2) ถ้าหากเป็ดไม่รู้ว่าไก่ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็ดไม่ผิดตามมาตรา 112
* แต่อาจมี ความผิดตามมาตรา 392 และมาตรา 397 ซึ่งเป็นความผิดลหุโทษ ประมวลกฎหมายอาญาให้ความคุ้มครองต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์

แตกต่างจากให้ความคุ้มครองบุคคลทั่วไป คือ ประมวลกฎหมายอาญาให้ความคุ้มครองแตกต่างกันดังนี้
(1) กำหนดโทษไว้หนักกว่าความผิดอย่างเดียวกันกับที่กระทำต่อบุคคลทั่วไป
(2) ในความผิดต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ถ้ากระทำา ต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แม้จะอยู่ในชั้นเตรียมการก็ผิด แต่ถ้าตระเตรียมกระทำการต่อบุคคลทั่วไปยังไม่เป็นความผิด ่
(3) การพยายามกระทำความผิดในข้อ (2) ถ้ากระทำต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ กฎหมายลงโทษเท่าความผิดสำเร็จ แต่ถ้าพยายามกระทำต่อบุคคล ทั่วไป ลงโทษเพียงสองในสามของโทษสำหรับความผิดนั้น
(4) ผู้สนับสนุนความผิดในข้อ (2) ที่กระทำต่อพระมหากษัตริย์ ฯลฯ ต้องโทษเท่ากับตัวการผู้ลงมือกระทำ แต่ถ้าสนับสนุนความผิดที่กระทำต่อบุคคลทั่วไปคงต้องโทษเพียงสองในสามของโทษสำหรับความผิดนั้น

เขียนโดย
น.ส.จุฑานันท์ ฉันทนันทรัตน์ เลขที่ 7 รปศ.501

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา

พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา
คำอธิบายขั้นตอนการทำพินัยกรรมด้วยวาจา
เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งบุคคลใดไม่สามารถจะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กฎหมายกำหนด ไว้ได้ เช่น ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย หรือเวลามีโรคระบาด หรือสงคราม ซึ่งในพฤติการณ์เช่นนี้ ผู้ทำพินัยกรรมไม่อาจหาเครื่องมือเครื่องเขียนได้ทันท่วงที หรือกว่าจะหาได้ก็ถึงตายเสียก่อน ผู้ทำ
พินัยกรรมสามารถทำพินัยกรรมด้วยวาจาได้ ดังนี้

1. ผู้ทำพินัยกรรมแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน ซึ่งอยู่พร้อมกัน
ณ ที่นั้น
2. พยานทั้งหมดต้องไปแสดงตนต่อนายอำเภอโดยมิชักช้า และแจ้งให้นายอำเภอทราบถึง
ข้อความเหล่านี้
- ข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจา
- วัน เดือน ปี สถานที่ที่ทำพินัยกรรม
- พฤติการณ์พิเศษที่ขัดขวางมิให้สามารถทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กฎหมายกำหนดไว้นั้นด้วย
3. ให้นายอำเภอจดข้อความที่พยานแจ้งไว้ และพยานทั้งหมดนั้นต้องลงลายมือชื่อ ถ้าลงลายมือชื่อไม่ได้
จะลงลายพิมพ์นิ้วมือ โดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง 2 คนก็ได้ และความสมบูรณ์แห่งพินัยกรรมนี้
ย่อมสิ้นไป เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่เวลาผู้ทำพินัยกรรมกลับมาสู่ฐานะที่จะทำพินัยกรรมตาม
แบบอื่นที่กฎหมายกำหนดไว้

ตัวอย่าง
พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา
พินัยกรรมของ...................................................
เขียนที่.............................
วันที่............เดือน............พ.ศ............

ด้วย............ (ชื่อพยาน)............อยู่บ้านเลขที่............หมู่ที่............ ตำบล............อำเภอ............จังหวัด............กับ............(ชื่อพยาน)............ อยู่บ้านเลขที่............หมู่ที่............ตำบล............ อำเภอ.............จังหวัด............ พยาน............คน ได้แจ้งมาว่า............(ระบุชื่อผู้ทำพินัยกรรม)............
อยู่บ้านเลขที่............หมู่ที่.............ตำบล............อำเภอ............จังหวัด............ได้............
(ระบุพฤติการณ์พิเศษที่ขัดขวางมิให้ทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กฎหมายกำหนดไว้นั้นได้)
...................................................................................................................................................... ซึ่งไม่สามารถทำพินัยกรรมตามแบบต่างๆ ที่ได้
กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ แสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้า
พยานซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ............ (สถานที่ทำพินัยกรรม)............เมื่อวันที่............เดือน............พ.ศ............ ดังมีข้อความต่อไปนี้


ข้อ 1 ถ้า.............(ระบุชื่อผู้ทำพินัยกรรม)............. ถึงแก่ความตายไปแล้ว ให้บรรดาทรัพย์สินของ .............(ระบุชื่อผู้ทำพินัยกรรม) .............ที่มีอยู่และจะเกิดขึ้นภายหน้า ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุชื่อไว้
ในพินัยกรรมนี้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้ คือ
(1) ……………………………………………………….
(2) ……………………………………………………….
(3) ……………………………………………………….

ข้อ 2 .............(ระบุชื่อผู้ทำพินัยกรรม).............ขอให้มอบพินัยกรรมนี้ แก่................................................................. และขอตั้งให้..........................เป็นผู้จัดการมรดกและให้มีอำนาจ หน้าที่ตามกฎหมายทุกประการ

ข้อ 3.............................................................................................................................................................................................................................

ข้อ 4 ข้อความแห่งพินัยกรรมนี้ กรมการอำเภอได้อ่านทบทวนให้พยานฟังโดยตลอดแล้วพยานยืน
ยันว่าเป็นการถูกต้องตรงตามความที่.............(ระบุชื่อผู้ทำพินัยกรรม).............สั่งไว้ด้วยวาจาทุกประการ
จึงลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้ากรมการอำเภอเป็นสำคัญ

(ลงลายมือชื่อ)....................................................พยาน ผู้รับคำสั่งจากผู้ทำพินัยกรรม
(ลงลายมือชื่อ)...................................................พยานผู้ รับคำสั่งจากผู้ทำพินัยกรรม
(ลงลายมือชื่อ)...................................................พยาน รับรองลายมือชื่อ
(ลง ลายมือชื่อ)..................................................พยานรับรอง ลายมือชื่อ
วันที่..................เดือน..................พ.ศ..................
ลายมือชื่อ......................................................... กรมการอำเภอ
ประทับตราตำแหน่งเป็นสำคัญ
ลงสมุดทะเบียนพินัยกรรมแล้วเลขที่.............................................................
..................................................................
เจ้าหน้าที่


เขียนโดย
น.ส.สุภาภรณ์ ผกาพรหม เลขที่ 41 รปศ.501

พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง

พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง
การขอทำพินัยกรรมเป็นเอกสารฝ่ายเมือง ผู้ร้องสามารถยื่นคำร้องขอให้กรมการอำเภอ (นายอำเภอ)อำเภอใดก็ได้
คำอธิบายขั้นตอนการทำพินัยกรรมเป็นเอกสารฝ่ายเมือง

1. ผู้ทำพินัยกรรม แจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนแก่นายอำเภอต่อหน้า
พยานอีกอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน
2. นายอำเภอจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบแล้วนั้นลงไว้ และอ่านข้อความนั้น ให้ผู้ทำ
พินัยกรรมและพยานฟัง
3. เมื่อผู้ทำพินัยกรรมและพยานทราบแน่ชัดว่า ข้อความที่นายอำเภอจดนั้นเป็นการถูกต้องตรงกัน
กับที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งไว้แล้ว ให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
4. ข้อความที่นายอำเภอจดไว้นั้น ให้นายอำเภอลงลายมือชื่อ และลงวัน เดือน ปี จดลงไว้ด้วยตนเอง
เป็นสำคัญว่า พินัยกรรมนั้นได้ทำถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ข้างต้น แล้วประทับตราตำแหน่ง
ไว้เป็นสำคัญ

- การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ไม่จำเป็นต้องทำในที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอเสมอไป
ถ้าผู้ทำร้องขอจะทำนอกที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอก็ได้ เมื่อทำพินัยกรรมเสร็จแล้ว ถ้าผู้ทำพินัยกรรม
ไม่มีความประสงค์จะขอรับเอาไปเก็บรักษาเองโดยทันทีแล้ว ให้เป็นหน้าที่ของนายอำเภอจัดเก็บรักษา
พินัยกรรมนั้นไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอก็ได้
- เมื่อความปรากฏว่า ผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตายแล้ว ผู้จัดการมรดก หรือผู้ได้รับทรัพย์มรดก
โดยพินัยกรรม หรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุด หรือผู้ซึ่งทำพินัยกรรมให้ จะขอรับพินัยกรรม
ไปไว้ โดยแสดงหลักฐานการตายของผู้ทำพินัยกรรม เมื่อสอบสวนเป็นที่พอใจแล้ว ให้นายอำเภอมอบ
พินัยกรรมนั้นให้ไป

เขียนโดย
น.ส.จิราวรรณ อินตาล เลขที่ 6 รปศ.501

พินัยกรรม(แบบเขียนเอง)

พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
- พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ ต้องทำเป็นเอกสารซึ่งจะต้องเขียนด้วยลายมือของผู้ทำ
- พินัยกรรมเองทั้งฉบับ มีข้อความที่ระบุว่าเป็นพินัยกรรม มีวันที่ เดือน ปี ที่ทำ
- พินัยกรรมและ ลงลายมือชื่อของตน จะใช้การพิมพ์ลายนิ้วมือไม่ได้
- พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับนั้น ถ้าหากมีการแก้ไข ขูดลบ ตก เติมพินัยกรรม ผู้ทำ พินัยกรรมนั้นจะต้องทำด้วยมือของตนเองจะให้ผู้อื่นทำไม่ได้ และจะต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้
จุดที่แก้ไข ขูดลบ ตก เติมด้วย หากมิได้ทำดังกล่าวถือว่า ไม่ได้มีการแก้ไข ขูดลบ ตก เติม แต่อย่างใด
- พินัยกรรมแบบนี้ไม่ได้เป็นเรื่องที่ยุ่งยากแต่ประการใด หากผู้ทำพอที่จะมีความรู้อ่านออก เขียนได้ก็คงสามารถกระทำพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับนี้ได้ โดยที่ไม่ต้องมีพยานรู้เห็น

ในการทำพินัยกรรมนี้ จุดที่มีความสำคัญจุดหนึ่งตามกฏหมายกำหนดให้ พินัยกรรมจะต้องระบุว่าวันที่ / เดือน /ปี ที่ทำ พินัยกรรม เช่น ระบุว่า วันที่ 15 กันยายน 2537 เป็นต้น ต่อจากนั้นย่อหน้าถัดไปต้องระบุถึงตัวของเรา ชื่ออะไร นามสกุลอะไร อายุเท่าไร อยู่บ้าน เลขที่ ถนน หมู่ ตำบล อำเภอ จังหวัด
ตัวอย่าง เช่น
ข้าพเจ้านายสิทธิชัย กาญจนา อายุ 31 ปี อยู่ บ้านเลขที่ 34 ถนนบ้านไร่ หมู่ 5 ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น ที่จะต้อง ระบุอย่างนี้ก็เพื่อให้รู้ว่าใครเป็นผู้ทำพินัยกรรม และผู้ตายมีอายุเกินกว่า 15 ปี ตามที่กฏหมายกำหนดให้ทำพินัยกรรมได้หรือไม่
ข้อความต่อไปนี้เป็นข้อความที่แสดงให้เห็นว่า จะให้ทรัพย์สินของเราตกทอดแก่บุคคลใด เมื่อเราเสียชีวิตไปแล้ว ไม่ได้หมายความว่าให้ทรัพย์สินของเราตกทอดแก่ผู้อื่นในขณะที่เรายังมี ชีวิตอยู่ ตรงนี้เป็นจุดที่มีความสำคัญมากทีเดียว เพราะจะเป็นพินัยกรรมได้ต้องมีข้อความดังกล่าว ข้างต้นนี้
ตัวอย่าง เช่น
"ข้าพเจ้าขอทำพินัยกรรมว่าเมื่อข้าพเจ้าถึงแก่ความตายแล้ว ให้ทรัพย์สินของ ข้าพเจ้าตกแก่บุคคลดังต่อไปนี้" แล้วก็ควรระบุทรัพย์สินที่ตั้งใจจะยกให้โดยย่อหน้าลงมาเป็น ข้อ ๆ เช่น
ข้อ 1 ให้เงินข้าพเจ้าจำนวน 1,000,000 บาท ที่ฝากไว้กับธนาคารออมสิน สาขากาญจนบุรี ตกแก่นายธรรมนูญ เทียนทอง
ข้อ 2 ให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 1233 ตำบลวังคัง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี รวมสิ่งปลูก
สร้างบนที่ดินดังกล่าว ตกแก่นางสมศรี เจริญลาภ
ข้อ 3 ให้รถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า 1 คัน หมายเลขทะเบียน ป-6789 ราชบุรี ตกแก่นางสำเภา ชมสวน หรือหากประสงค์จะยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่ใครคนใดคนหนึ่ง ก็สามารถเขียนได้ว่า เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรมไปแล้วให้ทรัพย์สินทั้งหมดของข้าพเจ้าตกได้แก่ นายธนู องอาจ แต่เพียงผู้เดียว
ย่อหน้าต่อไปควรระบุว่า ข้าพเจ้าขณะทำพินัยกรรมฉบับนี้ มีสติสัมปชัญญะปกติบริบูรณ์ดี ย่อหน้าต่อไปหรือตอนท้ายที่สุดของพินัยกรรมที่สำคัญ คือต้องลงลายมือชื่อหรือลายเซ็นของผู้ทำ พินัยกรรม และควรวงเล็บชื่อและนามสกุลด้วยตัวบรรจงไว้อีกด้วย แต่จะพิมพ์ลายมือแทนการ ลงชื่อไม่ได้
เมื่อทำเสร็จดังนี้แล้ว ก็เป็นอันว่าหนังสือฉบับนี้เป็นพินัยกรรมไปแล้ว แต่หากผู้ทำพินัยกรรม ต้องการเปลี่ยนแปลงแก้ไขพินัยกรรมที่ทำไว้แล้วนั้น ก็สามารถทำได้แต่จะต้องลงลายมือชื่อของตน ตรงที่ได้ แก้ไข ขูดลบ ตก เติมนั้นไว้ด้วย พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับนี้ไม่จำเป็นต้องมีพยานในพินัยกรรม
ข้อควรจำ
1.พินัยกรรมมีความสำคัญ ก่อนที่จะทำพินัยกรรมต้องพิจารณาไตร่ตรองให้ดีว่า เจตนายก ทรัพย์สินให้ใคร อย่างไร เพราะการทำพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายของเรานั้น ไม่จำเป็นต้อง ให้ทายาทตามกฎหมายของเราเท่านั้น หากพินัยกรรมได้ทำไปแล้วและถูกต้องก็ต้องบังคับตามพินัยกรรม ทายาทอื่นจะมาอ้างขอแบ่งทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมที่ทำยกให้ผู้อื่นไปแล้วมิได้ เพราะพินัยกรรมคือส่วนเจตนาที่สำคัญของเจ้ามรดกที่กฎหมายยอมรับและบังคับให้
2.ประการสำคัญ พินัยกรรมนั้นเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนด บางครั้งมีความละเอียดปลีกย่อยออกไปมากยากแก่การอธิบายให้เข้าใจได้โดยละเอียด เพียงหนังสือฉบับนี้ ถึงแม้เรามีความรู้ พออ่านออกเขียนได้ ก็ควรจะทำที่อำเภอ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยบริการจัดทำพินัยกรรมให้เรา เรียกว่า พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง เมื่อเราไปพบเจ้าหน้าที่ที่ว่าการอำเภอ แสดงความประสงค์จะทำพินัยกรรม เจ้าหน้าที่ก็จะจัดทำให้
พินัยกรรมทุกแบบ เมื่อได้ทำขึ้นแล้วนั้น ผู้ทำพินัยกรรมมีสิทธิจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
ทุกประการ สามารถยกเลิกได้โดยแก้ไข หรือทำพินัยกรรมฉบับใหม่ ซึ่งถือว่าพินัยกรรมฉบับเก่าถูกเพิกถอนไปแล้ว หรือสามารถฉีกทำลายพินัยกรรมเสียก็ได้ เป็นสิทธิของผู้ทำพินัยกรรมโดยตรง

เขียนโดย
น.ส.จุฑานันท์ ฉันทนันทรัตน์ เลขที่ 7 รปศ 501

บุตรบุญธรรม

การขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
หลักเกณฑ์ของผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรมและผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม
1. ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย15 ปี
2. ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วย
3. กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ จะต้องได้รับความยินยอมจาก
- บิดาและมารดา กรณีที่มีทั้งบิดาและมารดา
- บิดาหรือมารดา กรณีที่มารดาหรือบิดาตาย หรือถูกถอนอำนาจการปกครอง
- กรณีไม่มีผู้ให้ความยินยอม ผู้แทนโดยชอบธรรมหรืออัยการจะร้องขอต่อศาล ให้มีคำสั่งให้มีการรับเด็กเป็น
บุตรบุญธรรมก็ได้
- กรณีผู้เยาว์ถูกทอดทิ้งและอยู่ในความดูแลของสถานพยาบาลหรือสถาบัน ซึ่งทางราชการหรือองค์การปกครอง
ส่วนท้องถิ่นรับรองในการจัดตั่งขึ้น หรืออยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบุคคลใดมาเป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 1 ปี
ต้องได้รับความยินยอมของผู้รับผิดชอบในกิจการสถานพยาบาล หรือของบุคคลดังกล่าว
4. ผู้จะรับบุตรบุญธรรม หรือผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน
แต่หากมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้ ต้องร้องขอต่อศาลให้มีคำอนุญาตแทนคือ
- คู่สมรสไม่สามารถแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้
- คู่สมรสไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครได้รับข่าวคราวเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี
5. ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่ จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้
เว้นแต่จะเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น
ขั้นตอนในการติดต่อขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
(กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะ )
- ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรม ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักทะเบียนเขต
แห่งใดก็ได้
- ผู้รับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมที่มีคู่สมรส ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม
(กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ )
- ผู้ที่รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร(รวมทั้งชาวต่างประเทศ) ให้ยื่นคำขอ ณ ศูนย์
อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (กรมประชาสงเคราะห์) และสำหรับผู้มีภูมิลำเนาในจังหวัดอื่นยื่นคำขอ
ต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด พร้อมหนังสือยินยอมจาก
บุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอม
- ชาวต่างประเทศที่มีภูมิลำเนาถาวรอยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นคำขอผ่านหน่วยงานประชาสงเคราะห์หรือ
องค์การสังคมสงเคราะห์ที่รัฐบาลของประเทศนั้นมอบหมายให้ดำเนินการในเรื่องบุตรบุญธรรม
- เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้วให้ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุธรรม ยื่นคำร้องขอ
จดทะเบียนต่อนายทะเบียนดังกล่าว
- ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม
- เด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องลงนามในช่องผู้ร้องขอจดทะเบียนด้วย
ประโยชน์ที่เกิดจากการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
- ผู้เป็นบุตรบุญธรรม มีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุล และมีสิทธิ์รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม แต่ผู้รับบุตรบุญธรรม
ไม่มีสิทธิ์รับมรดกของบุตรบุญธรรม
- ผู้รับบุตรบุญธรรม มีอำนาจปกครองให้ความอุปการะเลี้ยงดูบุตรบุญธรรมและถือว่าบุตรบุญธรรมเป็น
ผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรมเสมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายนับแต่วันจดทะเบียน
- บิดามารดาโดยกำเนิด หมดอำนาจปกครองนับแต่วันจดทะเบียนแต่ไม่ขาดจากการเป็นบิดามารดาและ
บุตรบุญธรรมไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่กำเนิดมา
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
- บัตรประจำตัวประชาชน
- หนังสืออนุมัติจากคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ( กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ )

เขียนโดย
น.ส.จุฑานันท์ ฉันทนันทรัตน์ เลขที่ 7 รปศ.501