วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

เจตนาหมิ่นประมาท

ตัวอย่าง
“เจตนาหมิ่นประมาท”


กรณีที่ A พูดว่า “ถ้าเลือกเกิดได้จะเกิดใจกลางเมืองพระบรมมหาราชวัง ออกมาเป็นพระองค์เจ้า ......ไม่ต้องมายืนตากแดดพูดให้ประชาชนฟัง ถึงเวลาเที่ยงก็เข้าห้องเย็น เสวยเสร็จก็บรรทม ตื่นอีกที ก็บ่ายสามโมง พอตกเย็นก็เสวยน้ำจัณฑ์ให้สบายอกสบายใจ” นั้น เป็นการกล่าวเปรียบเทียบว่าพระมหากษัตริย์ พระราชนี และองค์รัชทายาท ทรงมีความเป็นอยู่สุขสบาย ฯลฯ และมีพยานรู้เห็น
ดังนั้น A จึงใส่ความว่าทั้งสามพระองค์ทรงมีความเป็นอยู่สุขสบายไม่ต้องปฏิบัติภารกิจใดๆ เอาแต่พักผ่อนและดื่มสุรา อันแสดงว่า A เจตนาหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ พระราชนี และองค์รัชทายาท การกระทำของ A เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

สรุป ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ คุ้มครองบุคคลตามมาตรานี้ซึ่งได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ อย่างกว้างขวาง จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นการอันตัดสิทธิในทางวิจารณ์โดยสิ้นเชิง หรือแม้แต่จะกล่าวถึงยังต้องระมัดระวัง ซึ่งการกำหนดดังกล่าวนั้น เข้าใจว่าเป็นผลจากการที่รัฐธรรมนูญแทบทุกฉบับที่บัญญัติรับรองว่า
“องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้...”

เขียนโดย
น.ส.สุภาภรณ์ ผกาพรหม เลขที่ 41 รปศ.501

ลอบปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์

มาตรา 107 ผู้ใดลอบปลงพระมหากษัตริย์ ต้องระวางโทษประหารชีวิต
- ผู้ใดพยายามการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
- ผู้ใดกระทำการใดเป็นการตระเตรียม เพื่อปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ หรือว่ามีผู้จะปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ กระทำการใดเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต

ตัวอย่าง

ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ แดงและดำคบคิดกันจะลอบปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ จึงไปปรึกษาเขียวของยืมรถยนต์และอาวุธปืนเพื่อใช้กระทำผิด จากนั้นแดงและดำก็ขับรถไปจอดบริเวณวัดที่ทราบว่าพระมหากษัตริย์จะเสด็จมาทรงประกอบพิธีกรรมทางศาสนา แต่แดงและดำถูกเจ้าหน้าที่จับกุมตัวเสียก่อนเช่นนี้ แดง ดำ และเขียว มีความผิด หรือไม่

การที่แดงและดำคบคิดกันกระทำผิด และหาอาวุธปืนมาไว้นั้นเป็นการเตรียม เพื่อปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมาตรา 107 วรรคท้ายบัญญัติเป็นความผิด แดงและดำจึงผิดฐานตระเตรียมเพื่อปลงพระชนม์ พระมหากษัตริย์ สำหรับเขียวซึ่งให้ยืมรถยนต์และอาวุธปืนเพื่อกระทำผิด การกระทำของเขียวจึงเป็นการช่วยเหลือในการที่แดงและดำกระทำผิด เขียวเป็นผู้สนับสนุนการตระเตรียม เพื่อปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมาตรา 111 ผู้สนับสนุนในกรณีนี้ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการมีความผิดต่อพระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

เขียนโดย
น.ส.จิราวรรณ อินตาล เลขที่ 6 รปศ.501

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ม.112)

ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

มาตรา 112 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี

กรณีตัวอย่าง

ไก่ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ไปหาซื้อของที่ศูนย์การค้า ขณะที่เดินซื้อของอยู่ ไก่เสียหลักเซไปปะทะเป็ดล้มลง เป็ดโกรธและพูดตะคอกไก่ว่า “ให้ระวังตัวให้ดีเดี๋ยวจะเจ็บตัว” นายตำารวจซึ่งติดตามคอยให้ความอารักขาแก่ไก่ จึงจับกุมเป็ดในข้อหาแสดงความอาฆาตมาดร้ายผู้สำาเร็จราชการแทนพระองค์ เป็ดมีความผิดตามที่กล่าวหาหรือไม่

คำพูดของเป็ดต่อไก่ที่ว่า “ให้ระวังตัวให้ดี เดี๋ยวจะเจ็บตัว” นั้นเป็นการขู่เข็ญไก่ ด้วยประสงค์ร้ายว่าจะทำอันตรายต่อร่างกายของไก่ ถือได้ว่าเป็นการแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อไก่ ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามบทบัญญัติในมาตรา 112 แต่เป็ดจะมีความผิดหรือไม่ต้องพิจารณาจากเจตนาของเป็ดอีกชั้น หนึ่งกล่าวคือ
(1) ถ้าเป็ดรู้ว่าไก่ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็ดก็ผิดตามมาตรา 112
(2) ถ้าหากเป็ดไม่รู้ว่าไก่ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็ดไม่ผิดตามมาตรา 112
* แต่อาจมี ความผิดตามมาตรา 392 และมาตรา 397 ซึ่งเป็นความผิดลหุโทษ ประมวลกฎหมายอาญาให้ความคุ้มครองต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์

แตกต่างจากให้ความคุ้มครองบุคคลทั่วไป คือ ประมวลกฎหมายอาญาให้ความคุ้มครองแตกต่างกันดังนี้
(1) กำหนดโทษไว้หนักกว่าความผิดอย่างเดียวกันกับที่กระทำต่อบุคคลทั่วไป
(2) ในความผิดต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ถ้ากระทำา ต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แม้จะอยู่ในชั้นเตรียมการก็ผิด แต่ถ้าตระเตรียมกระทำการต่อบุคคลทั่วไปยังไม่เป็นความผิด ่
(3) การพยายามกระทำความผิดในข้อ (2) ถ้ากระทำต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ กฎหมายลงโทษเท่าความผิดสำเร็จ แต่ถ้าพยายามกระทำต่อบุคคล ทั่วไป ลงโทษเพียงสองในสามของโทษสำหรับความผิดนั้น
(4) ผู้สนับสนุนความผิดในข้อ (2) ที่กระทำต่อพระมหากษัตริย์ ฯลฯ ต้องโทษเท่ากับตัวการผู้ลงมือกระทำ แต่ถ้าสนับสนุนความผิดที่กระทำต่อบุคคลทั่วไปคงต้องโทษเพียงสองในสามของโทษสำหรับความผิดนั้น

เขียนโดย
น.ส.จุฑานันท์ ฉันทนันทรัตน์ เลขที่ 7 รปศ.501

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา

พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา
คำอธิบายขั้นตอนการทำพินัยกรรมด้วยวาจา
เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งบุคคลใดไม่สามารถจะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กฎหมายกำหนด ไว้ได้ เช่น ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย หรือเวลามีโรคระบาด หรือสงคราม ซึ่งในพฤติการณ์เช่นนี้ ผู้ทำพินัยกรรมไม่อาจหาเครื่องมือเครื่องเขียนได้ทันท่วงที หรือกว่าจะหาได้ก็ถึงตายเสียก่อน ผู้ทำ
พินัยกรรมสามารถทำพินัยกรรมด้วยวาจาได้ ดังนี้

1. ผู้ทำพินัยกรรมแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน ซึ่งอยู่พร้อมกัน
ณ ที่นั้น
2. พยานทั้งหมดต้องไปแสดงตนต่อนายอำเภอโดยมิชักช้า และแจ้งให้นายอำเภอทราบถึง
ข้อความเหล่านี้
- ข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจา
- วัน เดือน ปี สถานที่ที่ทำพินัยกรรม
- พฤติการณ์พิเศษที่ขัดขวางมิให้สามารถทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กฎหมายกำหนดไว้นั้นด้วย
3. ให้นายอำเภอจดข้อความที่พยานแจ้งไว้ และพยานทั้งหมดนั้นต้องลงลายมือชื่อ ถ้าลงลายมือชื่อไม่ได้
จะลงลายพิมพ์นิ้วมือ โดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง 2 คนก็ได้ และความสมบูรณ์แห่งพินัยกรรมนี้
ย่อมสิ้นไป เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่เวลาผู้ทำพินัยกรรมกลับมาสู่ฐานะที่จะทำพินัยกรรมตาม
แบบอื่นที่กฎหมายกำหนดไว้

ตัวอย่าง
พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา
พินัยกรรมของ...................................................
เขียนที่.............................
วันที่............เดือน............พ.ศ............

ด้วย............ (ชื่อพยาน)............อยู่บ้านเลขที่............หมู่ที่............ ตำบล............อำเภอ............จังหวัด............กับ............(ชื่อพยาน)............ อยู่บ้านเลขที่............หมู่ที่............ตำบล............ อำเภอ.............จังหวัด............ พยาน............คน ได้แจ้งมาว่า............(ระบุชื่อผู้ทำพินัยกรรม)............
อยู่บ้านเลขที่............หมู่ที่.............ตำบล............อำเภอ............จังหวัด............ได้............
(ระบุพฤติการณ์พิเศษที่ขัดขวางมิให้ทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กฎหมายกำหนดไว้นั้นได้)
...................................................................................................................................................... ซึ่งไม่สามารถทำพินัยกรรมตามแบบต่างๆ ที่ได้
กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ แสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้า
พยานซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ............ (สถานที่ทำพินัยกรรม)............เมื่อวันที่............เดือน............พ.ศ............ ดังมีข้อความต่อไปนี้


ข้อ 1 ถ้า.............(ระบุชื่อผู้ทำพินัยกรรม)............. ถึงแก่ความตายไปแล้ว ให้บรรดาทรัพย์สินของ .............(ระบุชื่อผู้ทำพินัยกรรม) .............ที่มีอยู่และจะเกิดขึ้นภายหน้า ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุชื่อไว้
ในพินัยกรรมนี้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้ คือ
(1) ……………………………………………………….
(2) ……………………………………………………….
(3) ……………………………………………………….

ข้อ 2 .............(ระบุชื่อผู้ทำพินัยกรรม).............ขอให้มอบพินัยกรรมนี้ แก่................................................................. และขอตั้งให้..........................เป็นผู้จัดการมรดกและให้มีอำนาจ หน้าที่ตามกฎหมายทุกประการ

ข้อ 3.............................................................................................................................................................................................................................

ข้อ 4 ข้อความแห่งพินัยกรรมนี้ กรมการอำเภอได้อ่านทบทวนให้พยานฟังโดยตลอดแล้วพยานยืน
ยันว่าเป็นการถูกต้องตรงตามความที่.............(ระบุชื่อผู้ทำพินัยกรรม).............สั่งไว้ด้วยวาจาทุกประการ
จึงลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้ากรมการอำเภอเป็นสำคัญ

(ลงลายมือชื่อ)....................................................พยาน ผู้รับคำสั่งจากผู้ทำพินัยกรรม
(ลงลายมือชื่อ)...................................................พยานผู้ รับคำสั่งจากผู้ทำพินัยกรรม
(ลงลายมือชื่อ)...................................................พยาน รับรองลายมือชื่อ
(ลง ลายมือชื่อ)..................................................พยานรับรอง ลายมือชื่อ
วันที่..................เดือน..................พ.ศ..................
ลายมือชื่อ......................................................... กรมการอำเภอ
ประทับตราตำแหน่งเป็นสำคัญ
ลงสมุดทะเบียนพินัยกรรมแล้วเลขที่.............................................................
..................................................................
เจ้าหน้าที่


เขียนโดย
น.ส.สุภาภรณ์ ผกาพรหม เลขที่ 41 รปศ.501

พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง

พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง
การขอทำพินัยกรรมเป็นเอกสารฝ่ายเมือง ผู้ร้องสามารถยื่นคำร้องขอให้กรมการอำเภอ (นายอำเภอ)อำเภอใดก็ได้
คำอธิบายขั้นตอนการทำพินัยกรรมเป็นเอกสารฝ่ายเมือง

1. ผู้ทำพินัยกรรม แจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนแก่นายอำเภอต่อหน้า
พยานอีกอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน
2. นายอำเภอจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบแล้วนั้นลงไว้ และอ่านข้อความนั้น ให้ผู้ทำ
พินัยกรรมและพยานฟัง
3. เมื่อผู้ทำพินัยกรรมและพยานทราบแน่ชัดว่า ข้อความที่นายอำเภอจดนั้นเป็นการถูกต้องตรงกัน
กับที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งไว้แล้ว ให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
4. ข้อความที่นายอำเภอจดไว้นั้น ให้นายอำเภอลงลายมือชื่อ และลงวัน เดือน ปี จดลงไว้ด้วยตนเอง
เป็นสำคัญว่า พินัยกรรมนั้นได้ทำถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ข้างต้น แล้วประทับตราตำแหน่ง
ไว้เป็นสำคัญ

- การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ไม่จำเป็นต้องทำในที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอเสมอไป
ถ้าผู้ทำร้องขอจะทำนอกที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอก็ได้ เมื่อทำพินัยกรรมเสร็จแล้ว ถ้าผู้ทำพินัยกรรม
ไม่มีความประสงค์จะขอรับเอาไปเก็บรักษาเองโดยทันทีแล้ว ให้เป็นหน้าที่ของนายอำเภอจัดเก็บรักษา
พินัยกรรมนั้นไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอก็ได้
- เมื่อความปรากฏว่า ผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตายแล้ว ผู้จัดการมรดก หรือผู้ได้รับทรัพย์มรดก
โดยพินัยกรรม หรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุด หรือผู้ซึ่งทำพินัยกรรมให้ จะขอรับพินัยกรรม
ไปไว้ โดยแสดงหลักฐานการตายของผู้ทำพินัยกรรม เมื่อสอบสวนเป็นที่พอใจแล้ว ให้นายอำเภอมอบ
พินัยกรรมนั้นให้ไป

เขียนโดย
น.ส.จิราวรรณ อินตาล เลขที่ 6 รปศ.501

พินัยกรรม(แบบเขียนเอง)

พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
- พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ ต้องทำเป็นเอกสารซึ่งจะต้องเขียนด้วยลายมือของผู้ทำ
- พินัยกรรมเองทั้งฉบับ มีข้อความที่ระบุว่าเป็นพินัยกรรม มีวันที่ เดือน ปี ที่ทำ
- พินัยกรรมและ ลงลายมือชื่อของตน จะใช้การพิมพ์ลายนิ้วมือไม่ได้
- พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับนั้น ถ้าหากมีการแก้ไข ขูดลบ ตก เติมพินัยกรรม ผู้ทำ พินัยกรรมนั้นจะต้องทำด้วยมือของตนเองจะให้ผู้อื่นทำไม่ได้ และจะต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้
จุดที่แก้ไข ขูดลบ ตก เติมด้วย หากมิได้ทำดังกล่าวถือว่า ไม่ได้มีการแก้ไข ขูดลบ ตก เติม แต่อย่างใด
- พินัยกรรมแบบนี้ไม่ได้เป็นเรื่องที่ยุ่งยากแต่ประการใด หากผู้ทำพอที่จะมีความรู้อ่านออก เขียนได้ก็คงสามารถกระทำพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับนี้ได้ โดยที่ไม่ต้องมีพยานรู้เห็น

ในการทำพินัยกรรมนี้ จุดที่มีความสำคัญจุดหนึ่งตามกฏหมายกำหนดให้ พินัยกรรมจะต้องระบุว่าวันที่ / เดือน /ปี ที่ทำ พินัยกรรม เช่น ระบุว่า วันที่ 15 กันยายน 2537 เป็นต้น ต่อจากนั้นย่อหน้าถัดไปต้องระบุถึงตัวของเรา ชื่ออะไร นามสกุลอะไร อายุเท่าไร อยู่บ้าน เลขที่ ถนน หมู่ ตำบล อำเภอ จังหวัด
ตัวอย่าง เช่น
ข้าพเจ้านายสิทธิชัย กาญจนา อายุ 31 ปี อยู่ บ้านเลขที่ 34 ถนนบ้านไร่ หมู่ 5 ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น ที่จะต้อง ระบุอย่างนี้ก็เพื่อให้รู้ว่าใครเป็นผู้ทำพินัยกรรม และผู้ตายมีอายุเกินกว่า 15 ปี ตามที่กฏหมายกำหนดให้ทำพินัยกรรมได้หรือไม่
ข้อความต่อไปนี้เป็นข้อความที่แสดงให้เห็นว่า จะให้ทรัพย์สินของเราตกทอดแก่บุคคลใด เมื่อเราเสียชีวิตไปแล้ว ไม่ได้หมายความว่าให้ทรัพย์สินของเราตกทอดแก่ผู้อื่นในขณะที่เรายังมี ชีวิตอยู่ ตรงนี้เป็นจุดที่มีความสำคัญมากทีเดียว เพราะจะเป็นพินัยกรรมได้ต้องมีข้อความดังกล่าว ข้างต้นนี้
ตัวอย่าง เช่น
"ข้าพเจ้าขอทำพินัยกรรมว่าเมื่อข้าพเจ้าถึงแก่ความตายแล้ว ให้ทรัพย์สินของ ข้าพเจ้าตกแก่บุคคลดังต่อไปนี้" แล้วก็ควรระบุทรัพย์สินที่ตั้งใจจะยกให้โดยย่อหน้าลงมาเป็น ข้อ ๆ เช่น
ข้อ 1 ให้เงินข้าพเจ้าจำนวน 1,000,000 บาท ที่ฝากไว้กับธนาคารออมสิน สาขากาญจนบุรี ตกแก่นายธรรมนูญ เทียนทอง
ข้อ 2 ให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 1233 ตำบลวังคัง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี รวมสิ่งปลูก
สร้างบนที่ดินดังกล่าว ตกแก่นางสมศรี เจริญลาภ
ข้อ 3 ให้รถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า 1 คัน หมายเลขทะเบียน ป-6789 ราชบุรี ตกแก่นางสำเภา ชมสวน หรือหากประสงค์จะยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่ใครคนใดคนหนึ่ง ก็สามารถเขียนได้ว่า เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรมไปแล้วให้ทรัพย์สินทั้งหมดของข้าพเจ้าตกได้แก่ นายธนู องอาจ แต่เพียงผู้เดียว
ย่อหน้าต่อไปควรระบุว่า ข้าพเจ้าขณะทำพินัยกรรมฉบับนี้ มีสติสัมปชัญญะปกติบริบูรณ์ดี ย่อหน้าต่อไปหรือตอนท้ายที่สุดของพินัยกรรมที่สำคัญ คือต้องลงลายมือชื่อหรือลายเซ็นของผู้ทำ พินัยกรรม และควรวงเล็บชื่อและนามสกุลด้วยตัวบรรจงไว้อีกด้วย แต่จะพิมพ์ลายมือแทนการ ลงชื่อไม่ได้
เมื่อทำเสร็จดังนี้แล้ว ก็เป็นอันว่าหนังสือฉบับนี้เป็นพินัยกรรมไปแล้ว แต่หากผู้ทำพินัยกรรม ต้องการเปลี่ยนแปลงแก้ไขพินัยกรรมที่ทำไว้แล้วนั้น ก็สามารถทำได้แต่จะต้องลงลายมือชื่อของตน ตรงที่ได้ แก้ไข ขูดลบ ตก เติมนั้นไว้ด้วย พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับนี้ไม่จำเป็นต้องมีพยานในพินัยกรรม
ข้อควรจำ
1.พินัยกรรมมีความสำคัญ ก่อนที่จะทำพินัยกรรมต้องพิจารณาไตร่ตรองให้ดีว่า เจตนายก ทรัพย์สินให้ใคร อย่างไร เพราะการทำพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายของเรานั้น ไม่จำเป็นต้อง ให้ทายาทตามกฎหมายของเราเท่านั้น หากพินัยกรรมได้ทำไปแล้วและถูกต้องก็ต้องบังคับตามพินัยกรรม ทายาทอื่นจะมาอ้างขอแบ่งทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมที่ทำยกให้ผู้อื่นไปแล้วมิได้ เพราะพินัยกรรมคือส่วนเจตนาที่สำคัญของเจ้ามรดกที่กฎหมายยอมรับและบังคับให้
2.ประการสำคัญ พินัยกรรมนั้นเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนด บางครั้งมีความละเอียดปลีกย่อยออกไปมากยากแก่การอธิบายให้เข้าใจได้โดยละเอียด เพียงหนังสือฉบับนี้ ถึงแม้เรามีความรู้ พออ่านออกเขียนได้ ก็ควรจะทำที่อำเภอ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยบริการจัดทำพินัยกรรมให้เรา เรียกว่า พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง เมื่อเราไปพบเจ้าหน้าที่ที่ว่าการอำเภอ แสดงความประสงค์จะทำพินัยกรรม เจ้าหน้าที่ก็จะจัดทำให้
พินัยกรรมทุกแบบ เมื่อได้ทำขึ้นแล้วนั้น ผู้ทำพินัยกรรมมีสิทธิจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
ทุกประการ สามารถยกเลิกได้โดยแก้ไข หรือทำพินัยกรรมฉบับใหม่ ซึ่งถือว่าพินัยกรรมฉบับเก่าถูกเพิกถอนไปแล้ว หรือสามารถฉีกทำลายพินัยกรรมเสียก็ได้ เป็นสิทธิของผู้ทำพินัยกรรมโดยตรง

เขียนโดย
น.ส.จุฑานันท์ ฉันทนันทรัตน์ เลขที่ 7 รปศ 501

บุตรบุญธรรม

การขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
หลักเกณฑ์ของผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรมและผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม
1. ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย15 ปี
2. ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วย
3. กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ จะต้องได้รับความยินยอมจาก
- บิดาและมารดา กรณีที่มีทั้งบิดาและมารดา
- บิดาหรือมารดา กรณีที่มารดาหรือบิดาตาย หรือถูกถอนอำนาจการปกครอง
- กรณีไม่มีผู้ให้ความยินยอม ผู้แทนโดยชอบธรรมหรืออัยการจะร้องขอต่อศาล ให้มีคำสั่งให้มีการรับเด็กเป็น
บุตรบุญธรรมก็ได้
- กรณีผู้เยาว์ถูกทอดทิ้งและอยู่ในความดูแลของสถานพยาบาลหรือสถาบัน ซึ่งทางราชการหรือองค์การปกครอง
ส่วนท้องถิ่นรับรองในการจัดตั่งขึ้น หรืออยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบุคคลใดมาเป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 1 ปี
ต้องได้รับความยินยอมของผู้รับผิดชอบในกิจการสถานพยาบาล หรือของบุคคลดังกล่าว
4. ผู้จะรับบุตรบุญธรรม หรือผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน
แต่หากมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้ ต้องร้องขอต่อศาลให้มีคำอนุญาตแทนคือ
- คู่สมรสไม่สามารถแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้
- คู่สมรสไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครได้รับข่าวคราวเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี
5. ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่ จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้
เว้นแต่จะเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น
ขั้นตอนในการติดต่อขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
(กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะ )
- ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรม ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักทะเบียนเขต
แห่งใดก็ได้
- ผู้รับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมที่มีคู่สมรส ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม
(กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ )
- ผู้ที่รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร(รวมทั้งชาวต่างประเทศ) ให้ยื่นคำขอ ณ ศูนย์
อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (กรมประชาสงเคราะห์) และสำหรับผู้มีภูมิลำเนาในจังหวัดอื่นยื่นคำขอ
ต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด พร้อมหนังสือยินยอมจาก
บุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอม
- ชาวต่างประเทศที่มีภูมิลำเนาถาวรอยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นคำขอผ่านหน่วยงานประชาสงเคราะห์หรือ
องค์การสังคมสงเคราะห์ที่รัฐบาลของประเทศนั้นมอบหมายให้ดำเนินการในเรื่องบุตรบุญธรรม
- เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้วให้ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุธรรม ยื่นคำร้องขอ
จดทะเบียนต่อนายทะเบียนดังกล่าว
- ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม
- เด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องลงนามในช่องผู้ร้องขอจดทะเบียนด้วย
ประโยชน์ที่เกิดจากการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
- ผู้เป็นบุตรบุญธรรม มีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุล และมีสิทธิ์รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม แต่ผู้รับบุตรบุญธรรม
ไม่มีสิทธิ์รับมรดกของบุตรบุญธรรม
- ผู้รับบุตรบุญธรรม มีอำนาจปกครองให้ความอุปการะเลี้ยงดูบุตรบุญธรรมและถือว่าบุตรบุญธรรมเป็น
ผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรมเสมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายนับแต่วันจดทะเบียน
- บิดามารดาโดยกำเนิด หมดอำนาจปกครองนับแต่วันจดทะเบียนแต่ไม่ขาดจากการเป็นบิดามารดาและ
บุตรบุญธรรมไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่กำเนิดมา
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
- บัตรประจำตัวประชาชน
- หนังสืออนุมัติจากคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ( กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ )

เขียนโดย
น.ส.จุฑานันท์ ฉันทนันทรัตน์ เลขที่ 7 รปศ.501

มรดก

มรดก
กองมรดกของผู้ตาย ได้แก่
1. ทรัพย์สินและสิทธิ คำว่า “ทรัพย์สิน” มีความหมายตาม มาตรา137 และตามมาตรา 138คือวัตถุที่มีรูปร่าง รวมทั้งวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ ทรัพย์สินและสิทธิต้องเป็นของผู้ตายระหว่างมีชีวิต เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายจึงตกทอดเป็นมรดก ถ้าทรัพย์สินนั้นไม่เป็นของผู้ตายก่อนตายแล้วย่อมไม่เป็นมรดก
2. หน้าที่และความรับผิดต่างๆ ทายาทต้องรับไปทั้งงหน้าที่และความรับผิดต่างๆด้วย เว้นแต่ทรัพย์สิน สิทธิหน้าที่และความรับผิดนั้นโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย

ทายาทและความสามารถในการเป็นทายาท
1.ความหมายของทายาท (มาตรา 1599, 1603, 1604)
1.1 ทายาทเป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งมีสิทธิรับมรดกผู้ตายนั้น ต้องมีสภาพบุคคล คือ เริ่มเมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย ตาม มาตรา 15 เหตุนี้ แม้ก่อนตายบุคคลใดเป็นทายาท แต่บุคคลนั้นตายก่อนเข้ารับมรดกย่อมไม่สามารถเป็นทายาท
1.2 ทารกในครรภ์มารดาขณะที่บิดาตาย แม้จะยังำไม่คลอดยังไม่มีสภาพเป็นบุคคลก็มีสิทธิรับมรดกบิดาได้ ถ้าคลอดออกมาแล้วอยู่รอด
ฉะนั้นทายาท หมายถึงผู้มีสิทธิรับมรดกจริงๆ ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อบุคคลซึ่งเป็นเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
2. ทายาทแบ่งออกเป็นก็ประเภท มาตรา 1603
2.1 ทายาทโดยธรรม หมายถึงบุคคลที่กฎหมายได้กำหนดไว้โดยตรงว่าให้ทมีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามมาตรา 1629 คือ ทายาทที่เป็นญาติกับทายาทที่เป็นคู่สมรส
ข้อสำคัญทายาทโดยธรรมมีได้เฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้น
2.2 ผู้รับพินัยกรรม หมายถึง กรณีที่บุคคลได้แสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในทรัพย์สินหรือการต่างๆ ที่จะเกิดผลบังคับได้ตาม
กฎหมายเมื่อผู้นั้นตาย โดยเป็นคำสั่งสุดท้ายกำหนดไว้ในแบบที่กฎหมายบังคับไว้ตาม มาตรา 1646-1648 ในทรัพย์สินของตน
ได้แก่บุคคลใดบุคคลนั้นย่อมเป็นผู้รับพินัยกรรม
ข้อสำคัญ ผู้รับพินัยกรรมอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้
ข้อสังเกต สิทธิตามพินัยกรรมมีความสำคัญเหนือกว่าสิทธิตามกฎหมาย เพราะสิทธิตามพินัยกรรมเกิดขึ้นตามเจตนาของเจ้ามรดก
3. ความสามารถในการเป็นทายาท และคุณสมบัติในการรับมรดกมีหลักเกณฑ์อย่างไรพิจารณาตาม มาตรา 1604,1655

ทายาทโดยธรรม
กรณีทายาทโดยธรรม ทั้งหกลำดับ ตามมาตรา 1629 มีข้อสังเกตที่ต้องพิจารณาที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้
1. ผู้สืบสันดานตาม มาตรา 1629 (1)
1.1 ผู้สืบสันดานตาม มาตรา 1629 (1) หมายถึงบุตรของเจ้ามรดกเท่านั้นโดยพิจารณาตาม มาตรา 1631
1.2 บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วตาม มาตรา 1627 กฎหมายให้ถือว่าบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว เป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรชอบด้วยกฎหมาบย ดังนั้นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว จึงมีสิทธิรับมรดกของบิดาตาม มาตรา 1629(1)
1.3 บุตรบุญธรรมตาม มาตรา 1627 กฎหมายถือว่า บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรม ดังนั้นบุตรบุญธรรมจึงรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมได้ตาม มาตรา 1629(1)
2. บิดามารดาตามาตรา 1629(2)
2.1 ต้องเป็นกรณีบุตรเป็นเจ้ามรดก
2.2 บิดาที่รับรองบุตรนอกกฎหมาย ตามมารา 1627 รับมรดกของบุตรไม่ได้
2.3 บิดาซึ่งเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมรับมรดกของบุตรบุญธรรมไม่ได้
3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ตามมาตรา 1629 (3)
ให้ถือตามสายโลหิต แม้ไม่จดทะเบียนสมรสกันระหว่างบิดามารดาต้องถือความเป็นพี่น้องกันตามความเป็นจริงตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 4828/2529
4. พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกันตาม มาตรา 1629(4)
การเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะพี่น้องร่วบิดาเดียวกันต้องถือตามความเป็นจริง ตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 2742/2545
5. ปู่ ย่า ตา ยาย ตาม มาตรา 1629(5)
ต้องเป็นบุพการีหรือญาติสืบสายโลหิตโดยตรงของเจ้ามรดกเท่านั้น ต้องเป็นปู่และย่าที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาที่ชอบด้วย
กฎหมายของเจ้ามรดก ส่วนตาต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาเจ้ามรดก
6. ลุง ป้า น้า อา ตามมาตรา 1629(6)
กรณีนี้หมายถึง พี่ชาย พี่สาว น้องชาย หรือน้องสาว ของบิดาหรือมารดา ของเจ้ามรดก

เขียนโดย
น.ส.จิราวรรณ อินตาล เลขที่ 6 รปศ.501

การตัดมิให้รับมรดก

การเสียสิทธิในการรับมรดก
ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมอาจเสียไปซึ่งสิทธิในการรับมรดกได้ด้วยเหตุดังต่อไปนี้
1. โดยถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกตาม มาตรา 1605 – 1607
2. โดยถูกตัดมิให้รับมรดกตาม มาตรา 1608 – 1609
3. โดยการสละมรดกตาม มาตรา 1610 – 1619
4. โดยไม่ได้ถือเอาทรัพย์มรดก หรือฟ้องเรียกมรดกเสียภายในกำหนดอายุความตาม มาตรา 1754 -1577
1. การถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกตาม มาตรา 1605
ข้อสังเกตที่น่าสนใจ
1.1 การถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกตาม มาตรา 1605 เป็นบทบัญญัติให้ทายาทเสียสิทธิโดยผลของกฎหมาย
1.2 การกำจัดไม่ให้รับมรดกเป็นการเสียสิทธิเพราะปิดบังหรือยักย้ายทรัพย์มรดก ซึ่งเป็นการปิดบังหรือยักย้ายได้กระทำขึ้น ภายหลัง เจ้ามรดกตายแล้วซึ่งต่างจากการถูกตัดไม่ให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตาม มาตรา 1606 ซึ่งอาจเกิดก่อนหรือหลังเจ้ามรดกตายแล้วก็ได้
1.3 การถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกตาม มาตรา 1605 ถ้าผู้ถูกกำจัดมีผู้สืบสันดาน ผู้สืบสันดานของผู้ถูกกำจัดนั้นมีสิทธิ “สืบมรดก” ผู้ถูกกำจัดได้ตาม มาตรา 1607
1.4 คำว่า “ทายาท” ตามาตรา 1605 นี้ หมายถึง ทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรมตาม มาตรา1603 และมาตรา1651(1) เพราะมาตรา 1605 วรรคท้ายยกเว้นไม่ให้ใช้บังคับเฉพาะผู้รับพินัยกรรมเฉพาะสิ่งเฉพาะอย่างตาม มาตรา 1651(2) เท่านั้น
1.5 การกำจัดมิให้รับมรดกนั้นไม่ได้หมายความว่า ผู้ถูกกำจัดจะไม่ได้รับเฉพาะทรัพย์สินที่ยักยอกหรือปิดบัง แต่หมายถึง ถูกกำจัดในส่วนแห่งมรดกที่ททายาทนั้นจะได้รับ คือถ้าส่วนที่ทายาทยักย้ายหรือปิดบังเท่าหรือมากกว่าส่วนที่ทายาทมีสิทธิจะ ได้รับ ทายาทนั้นก็จะถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกเลย แต่ถ้าส่วนที่ยักย้ายหรือปิดน้อยกว่าส่วนที่ทายาทนั้นมีสิทธิจะได้รับ ก็ต้องถูกกำจัดเพียงเท่าที่ส่วนที่ยักย้ายหรือปิดบัง
หลักการเทียบส่วนดังกล่าวจะทำได้ต่อเมื่อมรดกทั้งหมดเป็นทรัพย์สินประเภทตีใช้แทนกันได้ กล่าวคือ ต้องคิดเป็นเงิน ดังนั้นถ้ามรดกไม่เป็นเงินต้องตีราคาให้มีค่าเป็นเงินก่อน
1.6 กรณีที่ผู้ตายมีทายาทโดยธรรม หรือผู้รับพินัยกรรมเพีบยงคนเดียวเท่านั้นที่มีสิทธืรับมรดกของผู้ตาย เช่นนี้ทายาทคนเดียวเท่านั้นจะยักยอกหรือปิดบังทรัพย์มรดกจะเป็นเพราะเหตุใด ก็ตาม ก็ไม่มีทางถูกกำจัดมิให้รับมรดกทั้งนี้เพราะมรดกนั้นเป็นของทายาทของผู้นั้น แต่ผู้เดียว การกระทำดังกล่าวจึงไม่มีทายาทอื่นที่จะต้องเสื่อมเสียประโยชน์
1.7 ถ้าผู้ตายทำพินัยกรรมยกมทรัพย์มรดกสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้แก่ผู้รับพินัยกรรมโดย เฉพาะเจาะจงแล้ว เพื่อเคารพเจตนาของผู้ตาย แม้ผู้รับพินัยกรรมคนนั้นจะไปยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกสิ่งอื่นโดยฉ้อฉล ก็ได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกทรัพย์เฉพาะสิ่งตามพินัยกรรม นั้น
1.8 การยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก ต้องเกิดขึ้นหลังเจ้ามรดกตายแล้วอันเป็นการฉ้อฉลทายาทอื่น และไม่อาจถอนข้อจำกัดโดยให้อภัยไว้เป็นลายลักษณ์อักษรตาม มาตรา 1606 วรรคท้ายได้ เพราะเจ้ามรดกได้ตายไปก่อนแล้ว อีกทั้งจะทำหนังสือให้อภัยไว้ล่วงหน้าก็ไม่ได้ เพราะการให้อภัยตาม มาตรา 1606 วรรคท้าย ให้ทำได้เฉพาะการกำจัดไม่ให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรเท่านั้น
1.9 การถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกตาม มาตรา 1605 จะนำบทบบัญญัติว่าด้วยการรรับมรดกแทนที่กันตาม มาตรา 1639 มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะมาตรา 1639 จะมีการรับมรดกแทนที่กันได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่บุคคลซึ่งจะเป็นทายทาตาม มาตรา 1629(1) (3) (4) หรือ(6) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกำจัดไม่ให้รับมรดก่อนเจ้ามรดกตาย แต่มีคำ วินิจฉัยให้มีการสืบมรดกแทนกันได้ตาม มาตรา 1627
2.การถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรจะรับมรดกจตาม มาตรา 1606
ข้อสังเกตที่น่าสนใจ
2.1 การถูกกำจัดตาม มาตรา 1606 เป็นควรประพฤติส่วนตัวซึ่งไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือเกี่ยวกับทรัพย์สินบ้าง ก็เป็นเรื่องพินัยกรรม การทำลาย การเพิกถอน การข่มขู่ให้ทำพินัยกรรม ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับความประพฤติ
2.2 การถูกกำจัดอาจเกิดก่อนหรือภายหลังเจ้ามรดกตายก็ได้ กรณีอาจเกิดก่อนคือ ตามมาตรา 1606 (1) (2) (4) และ (5) กรณีเกิดภายหลังเจ้ามรดกตายแล้วคือ ตาม มาตรา 1606 (1) (3) และ (5)
2.3 บุคคลที่ถูกกำจัดฐานเป็นผู้ไม่สมควรอาจเป็นทายาทโดยธรรมผู้รับพินัยกรรมลักษณะทั่วไป หรือผู้รับพินัยกรรมเฉพาะสิ่งเฉพาะอย่างก็ได้
2.4 กรณีตามมาตรา 1606(1) หมายความว่า ทายาทผู้ถูกกำจัดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษฐานฆ่าหรือพยายามฆ่าเจ้า มรดก หรือผู้รับมรดกก่อนตนโดยเจตนา ดังนั้นหากไม่เจตนาหรือประมาท จึงไม่ถูกจำกัดและรวมความถึงการกระทำโดยพลาดด้วย
2.5 กรณีตามมาตรา 1606(2) หมายความว่า ทายาทฟ้องคดีด้วยตนเองและความหมายรวมถึงการที่ทายาทยื่นคำร้องของเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการ
ผลของการถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร ตาม มาตรา 1606
1. การถูกกำจัดตาม มาตรา 1606 มีผลให้ผู้ถูกกำจัดหมดสิทธิรับมรดกไปเลย
2. ผู้สืบสันดานของทายาทผู้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรรับมรดกแทน ที่ได้ตามหลักเกณฑ์ ในเรื่องการรับมรดกแทนที่ กรณีผู้ถูกกำจัดไม่มีผู้สืบสันดาน ต้องเอาส่วนที่ถูกกำจัดนั้นแบ่งแก่ทายาทอื่นในลำดับเดียวกัน หรือ ให้มรดกนั้นตกแก่ทายาทในลำดับถัดไป
3. กรณีตาม มาตรา 1606 บางกรณีเกิดก่อนเจ้ามรดกตาย นำมาโดยกับมาตรา 1639ได ถ้าหลังเจ้ามรดกตายก็โยงมาตรา 1607
4. การถอนข้อจำกัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร เจ้ามรดกอาจถอนสียได้ โดยให้อภัยไว้เป็นลายลักษณ์อักษรตาม มาตรา1606 วรรคสุดท้าย
ซึ่งผลของการให้อภัยเป็นการแสดงเจตนาของเจ้ามรดกให้ทายาทผู้กระทำการจนต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกตาม
มาตรา1606 พ้นจากการถูกกำจัด และมีสิทธิได้รับมรดกตามเดิม
5. การถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร ตาม มาตรา 1606 มีกรณีที่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกทั้งก่อนและหลังเจ้ามรดกตาย เมื่อมีปัญหาจึงต้องพิเคราะห์ให้ดี เพราะหากถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ก็มีการรับมรดกแทนที่กันได้ ตามมาตรา 1639 แต่ถ้าเป็นกรณีหลังเจ้ามรดกตายก็ใช้แนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2539 มาปรับ
3. การตัดไม่ให้รับมรดกตาม มาตรา 1608, 1609
ข้อสังเกตที่น่าสนใจ
3.1 การตัดไม่ให้รับมรดกจะตัดได้เฉพาะทายาทโดยธรรมเท่านั้น โดยไม่รวมถึงผู้รับพินัยกรรม
3.2 การตัดทายาทโดยธรรมด้วยการแสดงเจตนาชัดแจ้ง และระบุตัวทายาทผู้ถูกตัดโดยชัดแจ้ง มีผลทำให้ทายาทโดยธรรมผู้นั้นไม่มีสิทธิรับมรดก และผู้สืบสันดานของผู้ถูกตัดก็ไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่เลนเพราะในกรณีดัง กล่าว ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้รับมรดกแทนที่หรือสืบมรดกต่อไปได้3.3 กรณีทายาทโดยธรรมซึ่งถูกตัดมิให้รับมรดก แต่เป็นผู้รับพินัยกรรมการตัดมิให้รับมรดกดังกล่าว ก็ไม่กระทบถึงสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรมของผู้ถูกตัดดังกล่าว

เขียนโดย
น.ส.สุภาภรณ์ ผกาพรหม เลขที่ 41 รปศ.501

ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง(มาตรา 137)

หมวด 1 ความผิดต่อเจ้าพนักงาน

มาตรา 137 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ตัวอย่าง
นายดำ กู้เงิน นายแดง โดยนำโฉนดที่ดินไปจำนองกับนายแดงเพื่อเป็นประกันยึดถือไว้ ต่อมานายดำคิดอยากได้โฉนดคืน จึงไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานว่า “ ตนถูกนายแดงทำร้ายและใช้กำลังยึดโฉนดที่ดินของตนไป ” นายดำจึงอยากให้เจ้าพนักงาน ช่วยดำเนินคดีเอาโฉนดที่ดินคืนมา ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นการให้ความเท็จ โดยความจริงโฉนดดังกล่าวอยู่ที่นายแดงที่นายดำเป็นคนไปจำนองไว้เอง
ดังนั้น การแจ้งความเท็จดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่นายดำกระทำต่อเจ้าพนักงาน ซึ่งมีความผิดตามมาตรา 137 เป็นการแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เขียนโดย
น.ส.สุภาภรณ์ ผกาพรหม เลขที่ 41 รปศ.501

ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง(มาตรา 138)

หมวด 1 ความผิดต่อเจ้าหน้าที่

มาตรา 138
องค์ประกอบความผิด
• ผู้ใด
• ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่
• เจตนา

ตัวอย่าง
เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2552 เวลากลางวันนายขวัญ และนายชัย อายุ 17 ปี ได้ชักชวนกันขับขี่รถจักรยานยนต์ไปเที่ยวงานประเพณีบุญบั้งไฟ ต่อมาระหว่างที่ชมการจุดบั้งไฟอยู่นั้น นายขวัญ และนายชัยได้พบคู่อริที่มาเที่ยวงานดังกล่าวด้วย จึงเข้าไปชกต่อยทำร้ายร่างกายคู่อริ จึงเกิดเหตุการณ์ชลมุนขึ้น เจ้าพนักงานตำรวจที่รักษาความสงบเรียบร้อยภายในงานเห็นเข้าจึงเข้าไประงับเหตุการณ์ และจับกุมตัวนายขวัญและนายชัยแต่ทั้ง 2 ไม่ยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจึงขัดขืนต่อสู้ โดยได้ชกต่อยเจ้าพนักงานตำรวจที่จับกุมตนเอง 1 ครั้ง การกระทำดังกล่าวของนายขวัญและนายชัย ถือเป็นการกระทำผิดตาม มาตรา138 ผู้ใดต่อสู้ หรือขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เขียนโดย
น.ส.จิราวรรณ อินตาล เลขที่ 6 รปศ.501

ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง(มาตรา 136)

หมวด 1 ความผิดต่อเจ้าหน้าที่

มาตรา136
องค์ประกอบความผิด
• ดูหมิ่น( ดูถูก เหยียดหยามทำให้อับอาย เสียหาย เป็นที่เกลียดชัง สบประมาณหรือด่า ซึ่งเป็นการเหยียดหยามเขาโดยตรง เช่น ด่าทอ ใช้คำไม่สุภาพ ใช้คำหยาบคาย)
• เจ้าพนักงาน(เช่นเจ้าพนักงานตำรวจ , กำนัน , ปลัดอำเภอ , นายอำเภอฯลฯ )
• ขณะกระทำการตามหน้าที่หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่
• เจตนา

ตัวอย่าง
นาย A อายุ 16 ปี เรียนอยู่โรงเรียนแห่งหนึ่งในเขตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 14 เมษายน2552 เวลาประมาณ 13.00 นายเอกได้ออกไปเที่ยวเล่นกับเพื่อนๆ วัยรุ่นชายหลายคนที่หน้าที่ว่าการอำเภอเมือง โดยนาย A และเพื่อนๆ ได้เล่นน้ำปะแป้งกันอยู่กลางถนนทำให้กีดขวางทางสัญจรไปมาเจ้าหน้าที่ตำรวจเกรงว่าจะเกิดอุบัติเหตุจึงได้เข้าบอกให้ย้ายไปเล่นที่ริมถนน นายเอกไม่พอใจจึงร้องตะโกนขึ้นว่า “มึงเป็นแค่ตำรวจชั้นประทวนมีสิทธิ์อะไรมาสั่งกู” คำพูดของนาย A ดังกล่าวเป็นการดูถูกเหยียดหยามศักดิ์ศรีของเจ้าพนักงานตำรวจและพูดขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจกำลังกระทำการตามหน้าที่
การกระทำดังกล่าวของนาย A ถือเป็นการกระทำผิดตามกฎหมายอาญา ในฐานความผิด ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ขณะกระทำการตามหน้าที่หรือ เพราะ ได้กระทำการตามหน้าที่ ตาม มาตรา 136 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เขียนโดย
น.ส.จุฑานันท์ ฉันทนันทรัตน์ เลขที่ 7 รปศ.501

วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553

สมรสซ้อน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 บัญญัติว่า ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้การจดทะเบียนสมรสครั้งที่สองในขณะที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยังไม่หย่าขาดตามกฎหมายนั้น เราเรียกกันว่า สมรสซ้อนหรือจดทะเบียนซ้อน ซึ่งเป็นข้อห้ามที่มีผลทางกฎหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1495 ว่า การจดทะเบียนสมรสซ้อน ถือเป็นโมฆะ อันส่งผลให้การสมรสครั้งที่สองไม่มีผลทางกฎหมายทันที
ตัวอย่าง
กรณีผลของทะเบียนสมรสซ้อน คือ นายผยอง จดทะเบียนสมรสกับ นางกลิ่น ต่อมาไปจดทะเบียนกับ นางเด็ดดวง เมื่อนางกลิ่นทราบเรื่อง จึงใช้สิทธิ์บอกล้างพร้อมหลักฐานทะเบียนสมรสให้นางเด็ดดวงรับทราบชัดเจน ผลทางกฎหมายระหว่างนายผยอง นางกลิ่น และนางเด็ดดวง คือ
1. ทะเบียนสมรสระหว่างนางเด็ดดวง กับ นายผยอง เป็นโมฆะและถือว่าไม่มีมาแต่ต้น
2. ถ้านายผยองให้ทรัพย์สินใดอันเป็นสินสมรสของนางกลิ่นกับนายผยองแก่ นางเด็ดดวง โดยเสน่หา นางกลิ่น ภรรยาตามทะเบียน มีสิทธิ์ทวงทรัพย์สินคืนได้ครึ่งหนึ่งของมูลค่าทรัพย์สินนั้น เช่น นายผยองซื้อรถยนต์มูลค่าห้าแสนบาทให้นางเด็ดดวง ไม่ว่าก่อนหรือหลังจดทะเบียนซ้อน เมื่อรถซื้อด้วยเงินสินสมรส นางกลิ่นย่อมใช้สิทธิ์เรียกรถยนต์คืนตามมูลค่าครึ่งหนึ่งได้ คือ สองแสนห้าหมื่นบาท เป็นต้น
3. นางกลิ่นอาจใช้สิทธิเรียกค่าทดแทนจากนางเด็ดดวงซึ่งมีสัมพันธ์ทางเพศและได้ รับเงินเลี้ยงดูจากนายผยอง รวมทั้งยังเรียกเงินค่าทดแทนความเสียหายประเภทนี้จากผู้เป็นสามีได้อีกด้วย
4. นายผยองอาจถูกดำเนินคดีอาญาฐานให้ข้อมูลเท็จต่อนายทะเบียน
เมื่อกฎหมายกำหนดชัดให้จดทะเบียนสมรสได้ ครั้งละหนึ่งคนเท่านั้น ย่อมใช้บังคับกับคนไทยอย่างเสมอภาคและทุกศาสนาด้วย ส่วนคำสอนทางศาสนาใดยินยอมให้มีสามีหรือภริยามากกว่าหนึ่งคน ย่อมทำได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทยที่มีสิทธิ์จดทะเบียนสมรสและรับสิทธิทางกฎหมายต่างๆได้เพียงหนึ่งคนเท่านั้น ส่วนบรรทัดฐานทางสังคมไทยหรือในโลกสากลจักยกย่องสามีหรือภริยาตามทะเบียนสมรสหรือตามกฎหมายที่ตนถือสัญชาติอยู่เท่านั้น ดังนั้น เราจึงควรเลือกพิจารณาอย่างรอบคอบว่าจะเป็นคนอยู่ภายใต้กฎหมายหรือนอกกฎหมาย

เขียนโดย
จุฑานันท์ รปศ.501 เลขที่ 7

สินสมรส

“สินสมรส” คือ ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรส และบรรดาที่เป็นสินส่วนตัวด้วย ส่วนสินส่วนตัวนั้น ได้แก่ ทรัพย์สินที่มีอยู่แล้วก่อนสมรส หรือบรรดาที่เป็นเครื่องใช้ส่วนตัวทั้งหลาย จนถึงเครื่องประดับตามฐานะ รวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็น ในการประกอบอาชีพ แต่หลายคนก็ไม่รู้ว่านอกจากนั้นแล้ว กฎหมายยังขยายความถึงทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสที่มีคนยกให้ หรือได้มรดกมาด้วย แต่ถ้ายกให้หรือเป็นมรดกตามพินัยกรรมที่ระบุว่าให้เป็นสินสมรส ก็ต้องเป็นสินสมรส

ตัวอย่าง
เสกสรรมีเงินฝากในธนาคารก่อนแต่งงาน เป็นเลข 6 หลัก เขาไม่คิดจะปกปิดภรรยาเพราะทราบดีว่า ถึงรู้ไปก็ไม่น่าเดือดร้อน เพราะเขามีบัญชีร่วมระหว่างเขากับภรรยาแล้ว ส่วนบัญชีเดิมเป็นสินส่วนตัวของเขา แต่หลังจากที่เขากับเธอมีปัญหาจนถึงขั้นแยกทางกัน เงินในบัญชีส่วนตัวของเขาก็ถูกนำมาเป็นเงื่อนไขในการแบ่งสมบัติ และนำไปสู่การฟ้องศาล
ตามกฎหมาย แม้เงินฝากที่ธนาคารในบัญชีของเสกสรร จะเป็นเงินส่วนตัวที่มีก่อนสมรส แต่ในการฝากเงินย่อมต้องมีดอกผลงอกเงย ภรรยาของเสกสรรไม่ลืมข้อนี้ เธอจึงอ้างเอาดอกเบี้ยเงินฝากของบัญชีดังกล่าว ซึ่งถือเป็นสินสมรสมาขอแบ่งด้วย เมื่ออยู่ด้วยกันกว่า 6 ปี จึงมีเงินฝากหลายล้าน งานนี้อดีตคุณผู้หญิงของเสกสรรมีส่วนแบ่งจากดอกเบี้ยไม่น้อยทีเดียว
ชื่อที่ปรากฏในเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะทำให้สินสมรสกลายเป็นสินส่วนตัว เพราะกฎหมายกล่าวว่า ถ้ากรณีที่สงสัยให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส ฝ่ายที่เถียงว่าไม่ใช่ ต้องมีภาระหน้านที่พิสูจน์ให้ได้ ถ้าเสกสรรเห็นว่า ตัวเองทำงานงกเงิ่นอยู่คนเดียว จึงสมควรควบคุมดูแลด้านการเงินทุกอย่างอยู่ในชื่อตัวเขาเอง เงินทองทรัพย์สินเหล่านนั้นก็ยังเป็นสินสมรสอยู่ดี แม้จะไม่มีชื่อภรรยาปรากฏอยู่ก็ตาม ไม่ว่าจะมีชื่อใครอย่างไร แต่เมื่อเป็นสินสมรสแล้ว กฎหมายให้อำนาจทั้งสองฝ่าย ในการจัดการทรัพย์สินนั้นได้โดยอิสระ ไม่ต้องมาขออนุมัติก่อน เว้นแต่เสียบางเรื่องที่อาจจะกระทบกระเทือนถึงความมั่นคงทางการเงินของครอบครัว กฎหมายก็จะบังคับให้ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง
เขียนโดย
สุภาภรณ์ รปศ.501 เลขที่ 41

การสมรส

ตัวอย่าง
นางปราณีมีลูกสาวกับสามีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสคนหนึ่ง ต่อมานางปราณีต้องมาทำงานในกรุงเทพฯ จึงได้จดทะเบียนยกลูกสาวให้เป็นบุตรบุญธรรมของพี่ชายและพี่สะใภ้ ขณะนี้ลูกสาวของดิฉันอายุได้ 18 ปี และมีคนรักอายุ 25 ปี ทั้งคู่ต้องการแต่งงาน แต่ทางพี่ชายและพี่สะใภ้ไม่ชอบ จึงพยายามกีดกัน แต่เจ้าหน้าที่ที่รับจดทะเบียนไม่ยอมจดทะเบียนให้ โดยให้เด็กทั้งสองไปตามพ่อแม่มาให้ความยินยอมก่อน ลูกสาวและคนรักจึงดั้นด้นมาหา ขอให้นางปราณีไปให้ความยินยอม ในการที่เขาทั้งสองจะจดทะเบียนสมรสกัน
ในกรณีดังกล่าวนี้ ผู้เยาว์หรือบุคคลที่มีอายุยังไม่ครบ 20 ปี บริบูรณ์ กฎหมายได้กำหนดให้ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองก่อน โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. ผู้เยาว์ที่มีทั้งบิดาและมารดา จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดา และมารดาทั้งสองคน
2. ผู้เยาว์ที่มีบิดาหรือมารดาเพียงคนเดียว โดยมารดาหรือบิดาอาจถึงแก่ความตาย ถูกถอนอำนาจปกครอง หรือไม่อยู่ในสภาพ หรือฐานะที่อาจให้ความยินยอม หรือโดยพฤติการณ์ ที่ทำให้ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมได้ ผู้เยาว์จึงต้องได้รับความยินยอมจากบิดาหรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองที่เหลืออยู่เพียงคนเดียวได้
3. ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม เนื่องจากบิดามารดาโดยกำเนิด ได้หมดอำนาจปกครองผู้เยาว์ไปตั้งแต่ที่ได้มีการจดทะเบียนรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม เมื่อบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์จะทำการสมรสจึงต้องได้รับความยินยอมของผู้รับบุตรบุญธรรม แต่เพียงผู้เดียว แม้ว่าในความเป็นจริงผู้เยาว์จะยังมีบิดามารดาที่แท้จริงอยู่ก็ตาม
4. ผู้เยาว์มีผู้ปกครอง หากผู้เยาว์ไม่มีบิดาและมารดา หรือมีแต่บิดาและมารดา ถูกถอนอำนาจปกครองไปแล้ว จะต้องมีการตั้งผู้ปกครอง ให้แก่ผู้เยาว์ โดยคำสั่งศาล การที่ผู้เยาว์จะทำการสมรส จึงต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง ส่วนบิดามารดา ที่ถูกถอนอำนาจปกครองไปแล้ว ไม่มีสิทธิมาให้ความยินยอมอีก
5. บิดาและมารดาของผู้เยาว์มิได้จดทะเบียนสมรสกัน ถือว่าผู้เยาว์เป็นบุตร ที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาแต่เพียงผู้เดียว การสมรสของผู้เยาว์จึงต้องได้รับความยินยอม เฉพาะจากมารดาเพียงคนเดียว
สำหรับกรณีที่ผู้เยาว์ถูกศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ และมีการแต่งตั้งผู้พิทักษ์ให้แก่ผู้เยาว์ หากผู้พิทักษ์เป็นบุคคลอื่น ที่มิใช่บิดามารดาของผู้เยาว์ ผู้พิทักษ์ที่ศาลแต่งตั้งไม่มีอำนาจให้ความยินยอม ในการที่ผู้เยาว์จะทำการสมรส เพราะการที่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งบุคคลอื่นซึ่งมิใช่บิดามารดา ผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นผู้พิทักษ์ ไม่ถือว่าเป็นการถอนผู้ใช้อำนาจปกครอง
หากผู้เยาว์จะทำการสมรสผู้ที่จะให้ความยินยอมคือ บิดาและมารดาที่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้พิทักษ์ไม่มีอำนาจให้ความยินยอม ในการที่ผู้เยาว์จะทำการสมรส แต่ถ้าหากเป็นกรณีที่ผู้เยาว์ ถูกศาลสั่งให้เป็นคน เสมือนไร้ความสามารถ เพราะเหตุจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบที่ถึงขั้น เป็นคนวิกลจริตแล้ว ผู้เยาว์ก็ ไม่อาจกระทำการสมรสได้ เพราะขัดต่อเงื่อนไขของการสมรส
ความยินยอมของบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองที่ให้ผู้เยาว์ทำการสมรสนั้น เมื่อให้ความยินยอมถูกต้องตามวิธีการแล้ว จะถอนความยินยอมไม่ได้
ในกรณีที่ผู้เยาว์ฝ่าฝืนเงื่อนไขทำการสมรส โดยไม่มีความยินยอมจากผู้มีอำนาจให้ความยินยอมแล้ว เฉพาะผู้ที่มีสิทธิให้ความยินยอมเท่านั้นที่จะมีสิทธิ ขอให้ศาลเพิกถอนการสมรส ที่ตกเป็นโมฆียะนี้ได้ ตัวชายหรือหญิงผู้เยาว์ที่เป็นคู่สมรสเองไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอน
ดังนั้นการสมรสของผู้เยาว์ที่ให้มารดาผู้ให้กำเนิดเป็นผู้ให้ความยินยอม ทั้งๆ ที่ผู้เยาว์ถูกยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น ที่มีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมายแล้ว บิดาบุญธรรมมีอำนาจฟ้อง ขอให้ศาลเพิกถอนการสมรสดังกล่าว ต่อศาลได้ และการฟ้องขอเพิกถอน การสมรสในกรณีที่ผู้เยาว์ทำการสมรส โดยไม่ได้รับความยินยอมนี้มีอายุความ 1 ปี นับแต่วันทราบการสมรส
อย่างไรก็ตาม สิทธิขอเพิกถอนการสมรส เป็นอันระงับสิ้นไปเมื่อชายหญิงคู่สมรสนั้นมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อหญิงตั้งท้องแล้ว
เขียนโดย
จิราวรรณ รปศ.501 เลขที่ 6