วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

มรดก

มรดก
กองมรดกของผู้ตาย ได้แก่
1. ทรัพย์สินและสิทธิ คำว่า “ทรัพย์สิน” มีความหมายตาม มาตรา137 และตามมาตรา 138คือวัตถุที่มีรูปร่าง รวมทั้งวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ ทรัพย์สินและสิทธิต้องเป็นของผู้ตายระหว่างมีชีวิต เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายจึงตกทอดเป็นมรดก ถ้าทรัพย์สินนั้นไม่เป็นของผู้ตายก่อนตายแล้วย่อมไม่เป็นมรดก
2. หน้าที่และความรับผิดต่างๆ ทายาทต้องรับไปทั้งงหน้าที่และความรับผิดต่างๆด้วย เว้นแต่ทรัพย์สิน สิทธิหน้าที่และความรับผิดนั้นโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย

ทายาทและความสามารถในการเป็นทายาท
1.ความหมายของทายาท (มาตรา 1599, 1603, 1604)
1.1 ทายาทเป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งมีสิทธิรับมรดกผู้ตายนั้น ต้องมีสภาพบุคคล คือ เริ่มเมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย ตาม มาตรา 15 เหตุนี้ แม้ก่อนตายบุคคลใดเป็นทายาท แต่บุคคลนั้นตายก่อนเข้ารับมรดกย่อมไม่สามารถเป็นทายาท
1.2 ทารกในครรภ์มารดาขณะที่บิดาตาย แม้จะยังำไม่คลอดยังไม่มีสภาพเป็นบุคคลก็มีสิทธิรับมรดกบิดาได้ ถ้าคลอดออกมาแล้วอยู่รอด
ฉะนั้นทายาท หมายถึงผู้มีสิทธิรับมรดกจริงๆ ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อบุคคลซึ่งเป็นเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
2. ทายาทแบ่งออกเป็นก็ประเภท มาตรา 1603
2.1 ทายาทโดยธรรม หมายถึงบุคคลที่กฎหมายได้กำหนดไว้โดยตรงว่าให้ทมีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามมาตรา 1629 คือ ทายาทที่เป็นญาติกับทายาทที่เป็นคู่สมรส
ข้อสำคัญทายาทโดยธรรมมีได้เฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้น
2.2 ผู้รับพินัยกรรม หมายถึง กรณีที่บุคคลได้แสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในทรัพย์สินหรือการต่างๆ ที่จะเกิดผลบังคับได้ตาม
กฎหมายเมื่อผู้นั้นตาย โดยเป็นคำสั่งสุดท้ายกำหนดไว้ในแบบที่กฎหมายบังคับไว้ตาม มาตรา 1646-1648 ในทรัพย์สินของตน
ได้แก่บุคคลใดบุคคลนั้นย่อมเป็นผู้รับพินัยกรรม
ข้อสำคัญ ผู้รับพินัยกรรมอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้
ข้อสังเกต สิทธิตามพินัยกรรมมีความสำคัญเหนือกว่าสิทธิตามกฎหมาย เพราะสิทธิตามพินัยกรรมเกิดขึ้นตามเจตนาของเจ้ามรดก
3. ความสามารถในการเป็นทายาท และคุณสมบัติในการรับมรดกมีหลักเกณฑ์อย่างไรพิจารณาตาม มาตรา 1604,1655

ทายาทโดยธรรม
กรณีทายาทโดยธรรม ทั้งหกลำดับ ตามมาตรา 1629 มีข้อสังเกตที่ต้องพิจารณาที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้
1. ผู้สืบสันดานตาม มาตรา 1629 (1)
1.1 ผู้สืบสันดานตาม มาตรา 1629 (1) หมายถึงบุตรของเจ้ามรดกเท่านั้นโดยพิจารณาตาม มาตรา 1631
1.2 บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วตาม มาตรา 1627 กฎหมายให้ถือว่าบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว เป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรชอบด้วยกฎหมาบย ดังนั้นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว จึงมีสิทธิรับมรดกของบิดาตาม มาตรา 1629(1)
1.3 บุตรบุญธรรมตาม มาตรา 1627 กฎหมายถือว่า บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรม ดังนั้นบุตรบุญธรรมจึงรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมได้ตาม มาตรา 1629(1)
2. บิดามารดาตามาตรา 1629(2)
2.1 ต้องเป็นกรณีบุตรเป็นเจ้ามรดก
2.2 บิดาที่รับรองบุตรนอกกฎหมาย ตามมารา 1627 รับมรดกของบุตรไม่ได้
2.3 บิดาซึ่งเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมรับมรดกของบุตรบุญธรรมไม่ได้
3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ตามมาตรา 1629 (3)
ให้ถือตามสายโลหิต แม้ไม่จดทะเบียนสมรสกันระหว่างบิดามารดาต้องถือความเป็นพี่น้องกันตามความเป็นจริงตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 4828/2529
4. พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกันตาม มาตรา 1629(4)
การเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะพี่น้องร่วบิดาเดียวกันต้องถือตามความเป็นจริง ตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 2742/2545
5. ปู่ ย่า ตา ยาย ตาม มาตรา 1629(5)
ต้องเป็นบุพการีหรือญาติสืบสายโลหิตโดยตรงของเจ้ามรดกเท่านั้น ต้องเป็นปู่และย่าที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาที่ชอบด้วย
กฎหมายของเจ้ามรดก ส่วนตาต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาเจ้ามรดก
6. ลุง ป้า น้า อา ตามมาตรา 1629(6)
กรณีนี้หมายถึง พี่ชาย พี่สาว น้องชาย หรือน้องสาว ของบิดาหรือมารดา ของเจ้ามรดก

เขียนโดย
น.ส.จิราวรรณ อินตาล เลขที่ 6 รปศ.501

1 ความคิดเห็น: