วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

การตัดมิให้รับมรดก

การเสียสิทธิในการรับมรดก
ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมอาจเสียไปซึ่งสิทธิในการรับมรดกได้ด้วยเหตุดังต่อไปนี้
1. โดยถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกตาม มาตรา 1605 – 1607
2. โดยถูกตัดมิให้รับมรดกตาม มาตรา 1608 – 1609
3. โดยการสละมรดกตาม มาตรา 1610 – 1619
4. โดยไม่ได้ถือเอาทรัพย์มรดก หรือฟ้องเรียกมรดกเสียภายในกำหนดอายุความตาม มาตรา 1754 -1577
1. การถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกตาม มาตรา 1605
ข้อสังเกตที่น่าสนใจ
1.1 การถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกตาม มาตรา 1605 เป็นบทบัญญัติให้ทายาทเสียสิทธิโดยผลของกฎหมาย
1.2 การกำจัดไม่ให้รับมรดกเป็นการเสียสิทธิเพราะปิดบังหรือยักย้ายทรัพย์มรดก ซึ่งเป็นการปิดบังหรือยักย้ายได้กระทำขึ้น ภายหลัง เจ้ามรดกตายแล้วซึ่งต่างจากการถูกตัดไม่ให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตาม มาตรา 1606 ซึ่งอาจเกิดก่อนหรือหลังเจ้ามรดกตายแล้วก็ได้
1.3 การถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกตาม มาตรา 1605 ถ้าผู้ถูกกำจัดมีผู้สืบสันดาน ผู้สืบสันดานของผู้ถูกกำจัดนั้นมีสิทธิ “สืบมรดก” ผู้ถูกกำจัดได้ตาม มาตรา 1607
1.4 คำว่า “ทายาท” ตามาตรา 1605 นี้ หมายถึง ทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรมตาม มาตรา1603 และมาตรา1651(1) เพราะมาตรา 1605 วรรคท้ายยกเว้นไม่ให้ใช้บังคับเฉพาะผู้รับพินัยกรรมเฉพาะสิ่งเฉพาะอย่างตาม มาตรา 1651(2) เท่านั้น
1.5 การกำจัดมิให้รับมรดกนั้นไม่ได้หมายความว่า ผู้ถูกกำจัดจะไม่ได้รับเฉพาะทรัพย์สินที่ยักยอกหรือปิดบัง แต่หมายถึง ถูกกำจัดในส่วนแห่งมรดกที่ททายาทนั้นจะได้รับ คือถ้าส่วนที่ทายาทยักย้ายหรือปิดบังเท่าหรือมากกว่าส่วนที่ทายาทมีสิทธิจะ ได้รับ ทายาทนั้นก็จะถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกเลย แต่ถ้าส่วนที่ยักย้ายหรือปิดน้อยกว่าส่วนที่ทายาทนั้นมีสิทธิจะได้รับ ก็ต้องถูกกำจัดเพียงเท่าที่ส่วนที่ยักย้ายหรือปิดบัง
หลักการเทียบส่วนดังกล่าวจะทำได้ต่อเมื่อมรดกทั้งหมดเป็นทรัพย์สินประเภทตีใช้แทนกันได้ กล่าวคือ ต้องคิดเป็นเงิน ดังนั้นถ้ามรดกไม่เป็นเงินต้องตีราคาให้มีค่าเป็นเงินก่อน
1.6 กรณีที่ผู้ตายมีทายาทโดยธรรม หรือผู้รับพินัยกรรมเพีบยงคนเดียวเท่านั้นที่มีสิทธืรับมรดกของผู้ตาย เช่นนี้ทายาทคนเดียวเท่านั้นจะยักยอกหรือปิดบังทรัพย์มรดกจะเป็นเพราะเหตุใด ก็ตาม ก็ไม่มีทางถูกกำจัดมิให้รับมรดกทั้งนี้เพราะมรดกนั้นเป็นของทายาทของผู้นั้น แต่ผู้เดียว การกระทำดังกล่าวจึงไม่มีทายาทอื่นที่จะต้องเสื่อมเสียประโยชน์
1.7 ถ้าผู้ตายทำพินัยกรรมยกมทรัพย์มรดกสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้แก่ผู้รับพินัยกรรมโดย เฉพาะเจาะจงแล้ว เพื่อเคารพเจตนาของผู้ตาย แม้ผู้รับพินัยกรรมคนนั้นจะไปยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกสิ่งอื่นโดยฉ้อฉล ก็ได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกทรัพย์เฉพาะสิ่งตามพินัยกรรม นั้น
1.8 การยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก ต้องเกิดขึ้นหลังเจ้ามรดกตายแล้วอันเป็นการฉ้อฉลทายาทอื่น และไม่อาจถอนข้อจำกัดโดยให้อภัยไว้เป็นลายลักษณ์อักษรตาม มาตรา 1606 วรรคท้ายได้ เพราะเจ้ามรดกได้ตายไปก่อนแล้ว อีกทั้งจะทำหนังสือให้อภัยไว้ล่วงหน้าก็ไม่ได้ เพราะการให้อภัยตาม มาตรา 1606 วรรคท้าย ให้ทำได้เฉพาะการกำจัดไม่ให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรเท่านั้น
1.9 การถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกตาม มาตรา 1605 จะนำบทบบัญญัติว่าด้วยการรรับมรดกแทนที่กันตาม มาตรา 1639 มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะมาตรา 1639 จะมีการรับมรดกแทนที่กันได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่บุคคลซึ่งจะเป็นทายทาตาม มาตรา 1629(1) (3) (4) หรือ(6) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกำจัดไม่ให้รับมรดก่อนเจ้ามรดกตาย แต่มีคำ วินิจฉัยให้มีการสืบมรดกแทนกันได้ตาม มาตรา 1627
2.การถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรจะรับมรดกจตาม มาตรา 1606
ข้อสังเกตที่น่าสนใจ
2.1 การถูกกำจัดตาม มาตรา 1606 เป็นควรประพฤติส่วนตัวซึ่งไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือเกี่ยวกับทรัพย์สินบ้าง ก็เป็นเรื่องพินัยกรรม การทำลาย การเพิกถอน การข่มขู่ให้ทำพินัยกรรม ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับความประพฤติ
2.2 การถูกกำจัดอาจเกิดก่อนหรือภายหลังเจ้ามรดกตายก็ได้ กรณีอาจเกิดก่อนคือ ตามมาตรา 1606 (1) (2) (4) และ (5) กรณีเกิดภายหลังเจ้ามรดกตายแล้วคือ ตาม มาตรา 1606 (1) (3) และ (5)
2.3 บุคคลที่ถูกกำจัดฐานเป็นผู้ไม่สมควรอาจเป็นทายาทโดยธรรมผู้รับพินัยกรรมลักษณะทั่วไป หรือผู้รับพินัยกรรมเฉพาะสิ่งเฉพาะอย่างก็ได้
2.4 กรณีตามมาตรา 1606(1) หมายความว่า ทายาทผู้ถูกกำจัดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษฐานฆ่าหรือพยายามฆ่าเจ้า มรดก หรือผู้รับมรดกก่อนตนโดยเจตนา ดังนั้นหากไม่เจตนาหรือประมาท จึงไม่ถูกจำกัดและรวมความถึงการกระทำโดยพลาดด้วย
2.5 กรณีตามมาตรา 1606(2) หมายความว่า ทายาทฟ้องคดีด้วยตนเองและความหมายรวมถึงการที่ทายาทยื่นคำร้องของเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการ
ผลของการถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร ตาม มาตรา 1606
1. การถูกกำจัดตาม มาตรา 1606 มีผลให้ผู้ถูกกำจัดหมดสิทธิรับมรดกไปเลย
2. ผู้สืบสันดานของทายาทผู้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรรับมรดกแทน ที่ได้ตามหลักเกณฑ์ ในเรื่องการรับมรดกแทนที่ กรณีผู้ถูกกำจัดไม่มีผู้สืบสันดาน ต้องเอาส่วนที่ถูกกำจัดนั้นแบ่งแก่ทายาทอื่นในลำดับเดียวกัน หรือ ให้มรดกนั้นตกแก่ทายาทในลำดับถัดไป
3. กรณีตาม มาตรา 1606 บางกรณีเกิดก่อนเจ้ามรดกตาย นำมาโดยกับมาตรา 1639ได ถ้าหลังเจ้ามรดกตายก็โยงมาตรา 1607
4. การถอนข้อจำกัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร เจ้ามรดกอาจถอนสียได้ โดยให้อภัยไว้เป็นลายลักษณ์อักษรตาม มาตรา1606 วรรคสุดท้าย
ซึ่งผลของการให้อภัยเป็นการแสดงเจตนาของเจ้ามรดกให้ทายาทผู้กระทำการจนต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกตาม
มาตรา1606 พ้นจากการถูกกำจัด และมีสิทธิได้รับมรดกตามเดิม
5. การถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร ตาม มาตรา 1606 มีกรณีที่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกทั้งก่อนและหลังเจ้ามรดกตาย เมื่อมีปัญหาจึงต้องพิเคราะห์ให้ดี เพราะหากถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ก็มีการรับมรดกแทนที่กันได้ ตามมาตรา 1639 แต่ถ้าเป็นกรณีหลังเจ้ามรดกตายก็ใช้แนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2539 มาปรับ
3. การตัดไม่ให้รับมรดกตาม มาตรา 1608, 1609
ข้อสังเกตที่น่าสนใจ
3.1 การตัดไม่ให้รับมรดกจะตัดได้เฉพาะทายาทโดยธรรมเท่านั้น โดยไม่รวมถึงผู้รับพินัยกรรม
3.2 การตัดทายาทโดยธรรมด้วยการแสดงเจตนาชัดแจ้ง และระบุตัวทายาทผู้ถูกตัดโดยชัดแจ้ง มีผลทำให้ทายาทโดยธรรมผู้นั้นไม่มีสิทธิรับมรดก และผู้สืบสันดานของผู้ถูกตัดก็ไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่เลนเพราะในกรณีดัง กล่าว ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้รับมรดกแทนที่หรือสืบมรดกต่อไปได้3.3 กรณีทายาทโดยธรรมซึ่งถูกตัดมิให้รับมรดก แต่เป็นผู้รับพินัยกรรมการตัดมิให้รับมรดกดังกล่าว ก็ไม่กระทบถึงสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรมของผู้ถูกตัดดังกล่าว

เขียนโดย
น.ส.สุภาภรณ์ ผกาพรหม เลขที่ 41 รปศ.501

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น